ปฎิทินสามารถนำมาใช้เป็นสื่ออะไรได้บ้าง ..น้องๆ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ลองออกแบบการใช้ปฏิทินมาแลกเปลี่ยนกัน คุณครูหรือนักศึกษาท่านใดมีแนวคิดดีๆ นำมาแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ
การปั้นดินน้ำมันตามรูปที่คุณครูกำหนด เด็กๆ ได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กเกี่ยวกับอาชีพในชุมชน เป็นสิ่งที่จะช่วยปลูกฝังทั้งเรื่องของอาชีพ และการใช้ชีวิตในวิถีของชุมชน ก่อนการจัดประสบการณ์ คุณครูควรให้แนวคิดสำคัญเบื้องต้นก่อนจัดกิจกรรม ดังตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไป
ครูสุภาภรณ์ เครือวัลย์ แสดงให้เห็นถึงการรับประทานอาหารกลางวันของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพรุดินนา เด็กๆ อาหารกลางวันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความใส่ใจเกี่ยวกับโภชนาการของเด็กและส่งเสริมการช่วยเหลือตนเองของเด็กได้อย่างเป็นระบบและมีระเบียบ
ศิลปะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกฝนกระบวนการคิดที่สำคัญ คือ การคิดสร้างสรรค์ ในที่นี้เป็นการจัดกิจกรรมสีเต้นระบำ หน่วยสีสวยสดใส ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมต่อยอดจากการเล่านิทานเพื่อเสริมจินตนาการของเด็กได้
วิทยาศาสตร์
ปัจจุบันความก้าวหน้าด้านการศึกษาปฐมวัยมีมากขึ้น การเรียนรู้ไม่มีขอบเขตและพรมแดนอีกต่อไป สิ่งสำคัญคือ "ภาษา" ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่มีอยู่ทั่วโลก เราควรเริ่มศึกษาจาก คำศัพท์ทางการศึกษาปฐมวัยที่เป็นคำง่ายๆ และสามารถพบได้โดยทั่วไป ...
ไม้บล็อก สื่อที่สามาถใช้เล่นและเรียนรู้ได้หลายช่วงวัย การจัดชุดไม้บล็อกเป็นชุดเล็กและชุดใหญ่มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
ความพร้อมของพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย ทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เป็นสิ่งที่ครูต้องตระหนักและใส่ใจ
สื่อฝึกประสาทสุัมผัสและกล้ามเนื้อมัดเล็ก
เทคโนโลยีในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เกี่ยวข้องกับเครื่องมือที่นำมาใช้สนับสนุนการเรียนรู้ ขณะที่คอมพิวเตอร์ คือ เทคโนโลยีที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับทั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันคำถามที่มักถูกถามถึงและเป็นความท้าทายสำหรับวงการการศึกษาปฐมวัย คือควรใช้เมื่อไหร่ ควรใช้อย่างไรเพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้สำหรับเด็กและลดโอกาสการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์หรือขัดขวางพัฒนาการของเด็ก
การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการศึกษาปฐมวัยเป็นการปูพื้นฐานการเรียนรู้เบื้องต้นให้กับเด็ก มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดและทักษะ แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่ยังเป็นข้อถกเถึยงเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย แต่งานวิจัยส่วนหนึ่ง ระบุว่าเด็กตั้งแต่ 3 ปีขึ้นสามารถใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ได้ แต่ต้องใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กด้วย โดยผลการเรียนรู้ต่อพัฒนาการของเด็กมีดังนี้
การเสริมศักยภาพ มาจากแนวคิดของไวก็อตสกี้ (Lev Semenovich Vygotsky) เป็นบทบาทเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กในการช่วยเหลือ แนะนำ สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กเพื่อเสริมพื้นที่รอยต่อของพัฒนาการ (zone of proximal development) ให้เด็กที่กำลังแก้ปัญหาหรือเรียนรู้สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ปรับการสร้างความเข้าใจภายใน (internalization) ให้กลายเป็นความรู้ใหม่ของตัวเอง ช่วยเสริมให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเชื่อมั่นในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ระหว่างการใช้เทคโนโลยีของเด็ก เด็กจะมีปฏิสัมพันธ์ ผลป้อนกลับและการเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับบริบทของโลกแห่งความเป็นจริง เมื่อครูสนับสนุนด้วยกระบวนการเรียนรู้และการช่วยเสริมความรู้ให้กับเด็ก เด็กจะสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น สามารถใช้ทักษะการคิดในระดับที่สูงขึ้นได้ ประเภทของการเสริมศักยภาพของครูในระหว่างการใช้เทคโนโลยีของเด็กออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. การเสริมศักยภาพทางปัญญา (cognitive scaffolding) 2. การเสริมศักยภาพทางเทคนิค (technical scaffolding) 3. การเสริมศักยภาพทางทัศนคติ (affective scaffolding)
การนำเทคโนโลยีและสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ไปใช้ในการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องสร้างความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีการศึกษากับศาสตร์การสอน ผู้สอนต้องปรับตัวให้มีสมรรถนะในการเลือก ใช้ และบูรณาการเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน ผู้สอนต้องเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยี ศาสตร์การสอน ความรู้ด้านเนื้อหา เข้าด้วยกันเพื่อให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด