1. การเสริมศักยภาพทางปัญญา (cognitive scaffolding)
ครูใช้การเสริมศักยภาพทางปัญญาเพื่อพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวแนวคิด ได้แก่ การตั้งคำถาม การทำเป็นต้นแบบ และการให้กำลังใจโดยการทำงานร่วมกับเพื่อน รักษาพลังของการเล่นเพื่อเรียนรู้ การเสริมศักยภาพนี้จะช่วยให้เกิดการใช้งานที่คล่องขึ้น มีทางเลือกมากขึ้น เสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ วิธีการหนึ่งที่นำมาใช้คือการให้เด็กสร้างเรื่องราวของภาพเคลื่อนไหว โดยให้ทำงานแบบเดี่ยวหรือกลุ่ม เด็กเป็นผู้สร้าง กำหนด และแสดงเรื่องราวบนเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต โดยมีครูช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้คำศัพท์ใหม่ๆ และทำให้โครงสร้างของเรื่องมีความสมบูรณ์มากขึ้น ตัวอย่างเช่น เด็กอาจเริ่มต้นจากการเรียนรู้ด้วยคำง่ายๆ เกี่ยวสัตว์ในฟาร์ม เช่น ไก่ โดยใช้ศัพท์ที่พบในชีวิตประจำวันหรือวาดภาพที่เป็นตัวแทนสัตว์เหล่านั้น ก่อนที่จะเพิ่มคำศัพท์อื่นเข้าไปและผูกคำศัพท์เป็นประโยคก่อนเชื่อมโยงแต่ละประโยคเป็นเรื่องราว
2. การเสริมศักยภาพทางเทคนิค (technical scaffolding)
ใช้คุณสมบัติของเทคโนโลยีในการสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อเอื้อต่อความเข้าใจและการแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถย้ายรูปทรงไปรอบๆ ได้ง่าย กิจกรรมในโปรแกรมช่วยให้เด็กเข้าใจรูปร่างอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะหมุนอยู่ในทิศทางใด หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเลื่อนระดับขึ้นหรือลงได้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของเด็ก เพื่อให้เด็กได้เล่นและเรียนรู้ในระดับความยาก-ง่ายที่เหมาะสมกับตนเอง
3. การเสริมศักยภาพทางทัศนคติ (affective scaffolding)
การสนับสนุนทางอารมณ์ช่วยสร้างกำลังใจ ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก ส่งเสริมให้เกิดการยกระดับของการคิดให้สูงขึ้น ครูอาจจะใช้ภาษาเพื่อช่วยเสริมกำลัง เช่น การยกนิ้วหัวมือให้เพื่อแสดงความชื่นชมเมื่อเด็กทำโปรแกรมในแต่ละระดับได้สำเร็จ หรือเมื่อเด็กติดปัญหาจากการใช้งานในระดับที่ยากขึ้นไป ไม่สามารถเลื่อนระดับได้ ครูอาจใช้คำพูดเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่น เช่น “ครูเชื่อว่าหนูทำได้” ขณะที่ตัวโปรแกรมต่างๆจะมีการให้การเสริมศักยภาพเชิงบวกทางทัศนคติที่มากับตัวละครในโปรแกรมอยู่แล้ว เช่น แสดงข้อความชื่นชมเมื่อประสบความสำเร็จ การให้ดาว ส่งเสียงแสดงความยินดีเมื่อตอบคำถามได้ถูกต้อง
1. พัฒนาการ
ความเหมาะสมกับอายุพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
2. ตัวบุคคล
ความเหมาะสมของเด็กแต่ละบุคคล ความสนใจและความต้องการ
3. สังคมและวัฒนธรรม
ความเหมาะสมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเด็ก